วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 13 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


13.1 ที่มาของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

13.2  ประโยชน์การใช้งานอินเทอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ตสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  ขึ้นกับรูปแบบความต้องการการใช้งานของผู้ใช้สามารถสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้
13.2.1 ด้านการสื่อสาร
                อินเทอร์เน็ตสามารถใช้เพื่อการสื่อสารกับผู้อื่นได้ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็ตาม  ซึ่งนอกจากเป็นจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์  การ์ดอวยพรที่มีเสียงและภาพเคลื่อนไหว  หรืออาจใช้เสียงภาพ  และข้อความสื่อสารกันแบบทันใดได้  อินเทอร์เน็ตยังเปิดโอกาสในการค้นหาเพื่อนเพื่อนสนทนา  และแลกปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกด้วย
13.2.2  แหล่งความรู้
                อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนแหล่งความรู้  ที่มีข้อความมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ได้  ซึ่งไม่เป็นเพียงข้อความเท่านั้น  แต่มีทั้งภาพ  เสียง  ภาพยนตร์  แหล่งข่าวสารและความบันเทิง  เราสามารถติดตามข่าวล่าสุด  ดูหนังฟ้งเพลง  และภาพยนตร์ล่าสุด  ไม่ว่าจะต่างประเทศหรือในประเทศก็ได้
13.2.3 แหล่งความบันเทิง
                อินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมายที่ให้บริการเกี่ยวกับด้านความบันเทิง  เช่น  เว็บวิทยุออนไลน์  เว็บไซต์ของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เราสามารถเลือกดูข่าวบันเทิงทั้งไทยและต่างประเทศ  ฟังเพลง  หรือสถานีวิทยุผ่านทางอินเทอร์เน็ต  หรือเลือกชมตัวอย่างหนังใหม่ที่กำลังเข้าฉายได้
13.2.4  การซื้อสินค้าและบริการ
                อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งจับจ่ายสินค้าและบริการมากมาย  ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทมากกว่าหมื่นชื่อที่ได้หันมาประชาสัมพันธ์ตัวเอง  และให้บริการลูกค้าบนอินเทอร์เน็ตตลอด  24  ชั่วโมง  ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถขอดูข้อมูลและสินค้าแลละเปรียบเทียบราคาได้อย่างสะดวก  เมื่อชอบใจสินค้าก็สามารถสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้
13.2.5  อีเมล์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
                อีเมล์  หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างสูงบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต  ใน 1 นาทีนั้น  มีจำนวนรับส่งถึงกันมากมายหลายฉบับ  เพราะการับส่งอีเมล์นั้นสามารถทำได้รวดเร็วเพียงแค่เสี้ยววินาที  อีกทั้งยังสามารถส่งหลาย ๆ คนได้พร้อมกันในครั้งเดียว  ทำให้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
13.2.6  สื่อสารกับผู้อื่นแบบทันทีทันใด
                อินเทอร์เน็ตนอกจากมีความสามารถในการใช้เพื่อการสื่อสารกับผู้อื่นได้  ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็ตาม  เช่น  การส่งเป็นอีเมล์  การ์ดอวยพรที่มีเสียงและภาพเคลื่อนไหวแล้ว  อินเทอร์เน็ตยังมีบริการออนไลน์  ที่เป็นการสื่อสารแบบโต้ตอบกับผู้อื่นแบบทันทีทันใดด้วย  ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้  นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาเพื่อนใหม่ทางอินเทอร์เน็ต  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเขาได้ด้วย
13.2.7 ศูนย์รวมดาวน์โหลดโปรแกรม และเกม
                บนอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมใช้งาน  และเกมมากมายที่สามารถนำมาใช้ได้  ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมประเภทฟรีแวร์  (Freeware)  ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ได้  ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมประเภทแชร์แวร์  (Shareware) ที่ให้ผู้ใช้สามารถทดลองใช้ก่อน  และซื้อมาใช้จริงหลังหมดเวลาทดลองใช้งาน

13.3  การทำงานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
13.3.1 TCP/IP ภาษากลางบนอินเทอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อdusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.files/image001.gif.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.files/image001.gif.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.files/image001.gif.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.files/image001.gif.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.files/image001.gif.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

13.4  ประเภทของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
           สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ต  จะมีบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดเชื่อมผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  บรษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะมีชื่อเรียกว่า  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  หากผู้ใช้ต้องการให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อกับ ISP
                ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น  สามารถแบ่งการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 2 ประเภท  โดยขึ้นกับลักษณะการใช้งาน  ได้แก่  การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป  และการเชื่อต่ออินเทอร์เน็ตระดับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก
13.4.1 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
                ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อกับ ISP ค่าใช้จ่ายอาจอยู่ในรูปของการสมัครเป็นสมาชิกโดยเสียค่ารายเดือน ซึ่งจะจำกัดจำนวนชั่วโมงที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ในแต่ละเดือน หรือค่าใช้จ่ายอาจอยู่ในรูปแบบของการซื้อเป็นชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูป ซึ่งจะเป็นการซื้อเหมาจำนวนชั่วโมงที่ผู้ใช้จะใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 เดือน หรือ ใช้ภายในระยะเวลาใดก็ได้จนกว่าครบจำนวนชั่วโมง
                ข้อเสีย ของการใช้สายโทรศัพท์ในการสื่อสารคือความเร็วในการสื่อสารข้อมูลมรความจำกัด และบ่อยครั้งอาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หลุดได้
13.4.2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก
                สำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก อาจทำการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้สาย Leased line ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน เชื่อมต่อตลอดเวลากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยจะเสียค่าบริการรายเดือน อัตตราค่าบริการจะขึ้นกับความเร็วในการส่งข้อมูลที่ใช้ นอกจากนั้นจะต้องเสียค่าเช่าสาย Leased line รายเดือนให้กับองค์กรสื่อสารแห่งประเทศไทยด้วย
                การใช้สาย Leased line สามารถโอนย้ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่าการใช้สายโทรศัพท์ โดยคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะเชื่อมต่อกับ Leased line โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เราเตอร์ (Router) ซึ่งเราเตอร์ในปัจจุบันจะรองรับการทำงานร่วมกับเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network)ด้วย

13.5 การเตรียมตัวเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  13.5.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                ถ้าเราต้องการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบรูณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราควรมีความเร็วในระดับที่ใช้ได้ ซึ่งมีความจริงเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นทั่วไปในปัจจุบันนั้น ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่มีปํญหา
13.5.2 โมเด็ม
                โมเด็ม คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคู่สายโทรศัพท์ โดยการแปลงสัญญาณดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก แล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์  และเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ อีกครั้ง
คำว่า โมเด็ม (Modems) มาจากคำว่า MOdulate + DEModulate คือ กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลเป็นอนาล็อก(Modulate) แล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่ง(Demodulate)

ชนิดของ MODEM ถ้าแบ่งตามลักษณะการติดตั้งแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.MODEM ชนิดติดตั้งภายนอก [ External Modem ] โดยจะต่อกับ Serial Port โดยใช้หัวต่อที่เป็น DB-25 หรือ DB-9 ต่อกับ Com1, Com2 หรือ
USB ข้อดีคือสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ ติดตั้งได้ง่าย ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม
ข้อดี
เคลื่อนย้ายได้สะดวก ติดตั้งง่าย ไม่เปลือง Slot
ข้อเสีย
เสีย Port ไปหนึ่ง Port ต้องใช้ไฟเลี้ยง
2.MODEM ชนิดติดตั้งภายใน [ Internal Modem ] เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ไมสะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะ PC Computer แบบตั้งโต๊ะ เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
ข้อดี
ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ทำงานเร็วกว่า (สำหรับเครื่องสเปกต่ำ) ราคาถูกกว่า
ข้อเสีย
ติดตั้งยาก (ต้องถอด case) เสียSlot และ IRQ เพิ่มความร้อนภายใน
13.5.3 หมายเลขโทรศัพท์
                แน่นอนว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ต มีการส่งข้อมมูลผ่านมาทางสายโทรศัพท์ผู้ใช้ต้องมีหมายเลขโทรศัพท์เพื่อโทรเข้าไปยังหมายเลขของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่เราสมัครใช้บริการโดยนำขั้วต่อของสายโทรศัพท์ต่อเข้าโมเด็ม ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่มาตามสายโทรศัพท์ ให้เป็นข้อมูลดิจิตอลส่งเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อหนึ่งนั่นเอง
13.5.4 สมัครสมาชิกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
                หลังจากที่ได้เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดต่อขอใช้บริการอินเทอร์เน็ต สำหรับนักศึกษาก็อาจสมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตได้กับศูนย์คอมพิวเตอร์ของสถาบันโดยตรง และสำหรับบุคคลทั่วไปก็สามารถขอสมัครเป็นสมาชิกกับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิช ซึ่งปัจจุบันมรผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยหลายราย
                โดยสิ่งที่เราจะได้รับจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็คือ ชื่อบัญชีผู้ใช้ (User Name) รหัสผ่าน (Password) และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับ โทรเข้าไปเพื่อเชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดย ISP บางรายจะมีอีเมล์แอดเดรสให้เราใช้งานด้วย
13.6 กำหนดค่าสำหรับเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
1. ไปที่ Desktop แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer
2. ที่หน้าต่าง My Computer นี้ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน  Dial-Up Networking
3. ที่หน้าต่าง Dial-Up Networking ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ไอคอน True Internet หลังจากนั้นเลือก Properties 
4. ที่หน้าต่าง True Internet นี้ แล้วให้เลือกแท็ป General
ในช่อง Area Code พิมพ์ 02
ในช่องTelephone number
พิมพ์   640-8000 สำหรับสมาชิก และชุด Cool Kit รองรับโมเด็ม 56 K Flex และ 56 K V.90
พิมพ์   640-8001 สำหรับสมาชิก และชุด Cool Kit รองรับโมเด็ม 56 K X2 และ 56 K V.90
พิมพ์   640-8008 สำหรับเครือข่าย Local Net และชุด Local Kit รองรับโมเด็ม  V.90
พิมพ์   640-8088 สำหรับเครือข่าย Cable Modem (เส้นทางส่งกลับใน cable modem หรือReturn path) รองรับโมเด็ม  V.90
พิมพ์   640-8009, 640-8080, 640-8081 สำหรับผู้ใช้ Corporate Fix IP รองรับโมเด็ม  V.90
(สำหรับระบบโทรศัพท์ที่ผู้ใช้ต้องกด 9 เพื่อโทรออกไปนอกหน่วยงาน  คุณต้องพิมพ์ 9 นำหน้าหมายเลขที่คุณต้องการโทรออก)
ในช่อง Country code        เลือก Thailand (66)
ในช่อง Connect using      ควรเป็นชื่ออุปกรณ์โมเด็มของคุณ
หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [Configure…]
5. ที่หน้าต่าง Modem Properties เลือกแท็ป General
ตรวจดูที่ช่อง Port   จะต้องเป็น Port เดียวกับที่คุณต่อโมเด็มไว้
ตรวจดูที่ช่อง Maximum speed คุณต้องเลือกความเร็วให้เหมาะสมกับโมเด็มของคุณ
6. ที่หน้าต่าง Modem Properties เลือกแท็ป Options
จากนั้นทำเครื่องหมายที่ช่อง “Display Modem Status” หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [OK]
7. ที่หน้าต่าง True Internet เลือกแท็ป Server Types
ในช่อง Type of Dial-Up Server ให้เลือกข้อความดังนี้ PPP: Internet, Window NT server, Windows 95/98
ในช่อง Advanced optionsให้คุณทำเครื่องหมายที่ช่อง Enable software compression
ในช่อง Allowed network protocols ให้คุณทำเครื่องหมายที่ช่อง TCP/IP
หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [TCP/IP settings]

8. ที่หน้าต่าง TCP/IP settings
ทำเครื่องหมายที่ช่อง
“Server assigned IP address”
ทำเครื่องหมายที่ช่อง “Specify name server addresses”
ในช่อง
    Primary DNS                 พิมพ์      203.144.207.29
ในช่อง    Secondary DNS          พิมพ์      203.144.207.49
ทำเครื่องหมายที่ช่อง
“Use IP header compression”
ทำเครื่องหมายที่ช่อง “Use default gateway on remote network”
หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [OK] ไปทุกครั้งจนกว่าคุณจะออกไปสู่หน้าต่าง The Internet Properties
9. ที่หน้าต่าง Dial-Up Networking นี้ ให้คุณดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน True Internet
13.7 การหมุนโทรศัพท์และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งค่าต่าง ๆ ใน Dial-up Networking แล้ว เมื่อเราต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ส่งให้คอมพิวเตอร์หมุนโทรศัพท์เข้าไปที่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อทำการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ทันที
                โมเด็มของเราจะมีเสียงหมุนโทรศัพท์ ถ้าหมุนติดจะมีเสียงสูงดังสักครู่ windows จะทำการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากจุดนี้สามารถเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้ต่อไป เช่น internet Explorer เพื่อเปิดเว็บต่าง ๆเป็นต้น
ยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                เมื่อเราทำการหมุนโทรศัพท์เพื่อทำการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เราถูกนับจำนวนชั่วโมงการใช้งานโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต เราควรยกเลิกการเชื่อมต่อโดยดับเบิ้ลคลิกที่ปุ่ม คอมพิวเตอร์ บริเวณทาสบาร์ จากหน้าต่าง Status ของการเชื่อมต่อ ให้เราคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Disconnect เพื่อยกเลิกการเชื่อมต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 9 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

9.1  Microsoft  Windows

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก 

การเปลี่ยนแปลงของ  Microsoft  Windows  ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากวินโดวส์ในยุคเริ่มต้นหลาย ๆ ด้าน 

9.1.1  ยุคคอมพิวเตอร์  16 – bit
         วินโดวส์ 1.0 เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ ดอส) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วินโดวส์ในช่วงนี้ จึงยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ แมคอินทอช ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจากบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก

วินโดวส์ 1.0 อยู่ในระยะการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

            วินโดวส์ 2.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงของวินโดวส์ 2.0 วินโดวส์กับแมคอินทอชมีความใกล้เคียงกันมาก จนเกิดคดีฟ้องร้องกันของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ 2 แห่ง คือ ไมโครซอฟท์ และ แอปเปิล

วินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

9.1.2  ยุคผสมคอมพิวเตอร์  16 /32– bit
         วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบกราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์ใหม่, มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ โน้ตแพด, เกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล

วินโดวส์ 3.0 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

           วินโดวส์ 3.1 เปิดตัวเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2535 ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภททรูไทป์ และได้มีการลงเกม ไมน์สวีปเปอร์ มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

ในรุ่น 3.1 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และโพรโทคอล, เกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2 สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ
        วินโดวส์ 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    9.1.3  ยุคผสมคอมพิวเตอร์  32– bit  สาย  Home  User

วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 4.0 (ไม่เอ็นที) เปิดตัว 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์ 95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์

วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อของวินโดวส์ 95 จุดเด่นของวินโดวส์ 98 คือการใช้มาตรฐานไดรเวอร์แบบ WDM และ VxD ซึ่ง WDM เป็นมาตรฐานใหม่ที่วินโดวส์รุ่นต่อๆ มา ได้ใช้เป็นหลัก ส่วน VxD เป็นมาตรฐานเก่า ซึ่งวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 ไม่รองรับ ซึ่งทำให้วินโดวส์ 98 เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมสมัยเก่าและใหม่ โปรแกรมสมัยปัจจุบัน แม้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวินโดวส์ 98 แต่หลายโปรแกรมก็สามารถใช้กับวินโดวส์ 98 ได้พอสมควร วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542

วินโดวส์ 2000 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.0 เปิดตัวเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นระบบปฏิบัติการเอ็นที มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ขั้นสูงและกลุ่มธุรกิจ ในช่วงนี้ได้แบ่งเป็น 5 รุ่นย่อย คือ Professional, Server, Advanced Server, Datacenter Server, Advanced Server 64-bit Limited Edition

วินโดวส์ มี ( Windows Me) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2543 วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์

 9.1.4  ยุคคอมพิวเตอร์  32– bit  สาย  IT  Professional
          นอกจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ธรรมดาแล้ว  ไมโครซอฟท์ยังได้ออกระบบปฏิบัติการอีกชุดหนึ่งที่เป็นตัวคู่ขนานกัน  คือ  ระบบปฏิบัติการ  Windows  NT  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถทางด้านเครือข่ายสูงกว่าวินโดวน์ปกติ

                Windows  NT  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการดูแลระบบเครือข่าย  มีความสามารถในด้านการบริการ  (sever)  มีความเสถียร  และระบบรักษาความปลอดภัยสูง  เหมาะสำหรับผู้ดูและระบบใช้จัดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์

วินโดวส์เอ็นที 3.1 เปิดตัวเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของวินโดวส์ สามารถทำงานต่างๆได้ด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์นี้ ไม่จำเป็นต้องลงระบบดอสอีกต่อไป เอ็นทีออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพโดยเฉพาะ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ซึ่งวินโดวส์ตัวก่อนหน้าทั้งหมด เป็นสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต โปรแกรม 32 บิต (ซึ่งในขณะนั้นมักเป็นโปรแกรมขั้นสูง) สามารถใช้งานกับวินโดวส์เอ็นทีได้ แต่ไม่สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 ได้ แต่โปรแกรม 16 บิต สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 และเอ็นที ได้ เพราะเอ็นทีจะมีระบบแปลงไฟล์ ให้สามารถใช้งานในเอ็นทีได้

เอ็นที ย่อมาจาก (New Technology) มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ในช่วงนี้ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ใช้ตามบ้าน แต่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นมักยังใช้ วินโดวส์ 3.1 ธรรมดา

 9.1.5  ยุครวมคอมพิวเตอร์  32– bit 
               วินโดวส์ เอกซ์พี หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.1 และ เอ็นที 5.2 เปิดตัว 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจาก วินโดวส์ เนปจูน ถูกยุบรวมกับวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า Experience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นวินโดวส์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้จะเปิดตัวมาแล้วถึง 9 ปี แต่จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์ เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack

 9.1.6  ยุคต่อไปคอมพิวเตอร์  64– bit 
           เอกซ์พีรุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2547, เอกซ์พีรุ่นปรับปรุง SP1 และ 1a ยุติการสนับสนุน 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549, รุ่นปรับปรุง SP2 32 บิต ยุติการสนับสนุน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 64 บิต และ SP3 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ส่วนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 จะได้รับการสนับสนุนต่อจนถึง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และวินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี ยังไม่มีแผนจะยุติการสนับสนุนอีกด้วยและ การสนับสนุน Windows XP ที่มี Service Pack 2 (SP2) ได้หยุดลงในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553

              วินโดวส์ วิสตา หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.0 ได้รับลิขสิทธิ์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในช่วงของวิสตา วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ วิสตามีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น ในการตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน, การแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม, ความสามารถในการค้นหา, การพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว ดังตัวอย่างเปรียบเทียบในตาราง

ประเภทความต้องการ
ความต้องการขั้นต่ำของเอกซ์พี (SP3)
ความต้องการขั้นต่ำของวิสตา
หน่วยประมวลผลกลาง (โปรเซสเซอร์)
233 MHz
800 MHz
64 MB
512 MB
เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์
4.2 GB
15 GB
ไดรฟ์ที่ต้องการ
CD-ROM
DVD-ROM


เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

วิสตา รุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนวิสตารุ่นปรับปรุง SP1 ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 ยังไม่มีแผนการจะยกเลิกการสนับสนุน (ตรวจสอบโดย กด Start แล้วพิมพ์ที่ช่องว่างด้านล่างซ้ายว่า winver แล้ว Enter)

9.2  Novell  NetWare

Netware เป็นระบบปฏิบัติการของ Network server ที่มีการติดตั้งอย่างกว้างขวาง ระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นของ Novell ในช่วงเริ่มต้น Netware ได้รับความสำเร็จในการติดตั้ง เพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายในสำนักงานทั้งขนาดเล็กและใหญ่ Novell ได้ทำการปรับปรุงการออกแบบ Netware เพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ และหลากหลาย รวมถึงอินเตอร์เน็ต Netware มีคู่แข่งหลักคือระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชันล่าสุดของ Netware คือ Netware 5 ซึ่งสนับสนุนโปรโตคอลของระบบเครือข่ายแบบ Internetwork Pocket Exchange ของตัวเองและโปรโตคอลของ Web server คือ Internet Protocol
               Netware ได้รวบรวมระบบ Novell Directory Service (DNS) ของตัวเองเข้ากับมาตรฐาน อุตสาหกรรม Domain Name System และ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) นอกเหนือ Netware สนับสนุนโปรแกรมประยุกต์ Java, สถาปัตยกรรมแบบ Common Object Request Broker Architecture และ Object Request Broker โดย Kernel สนับสนุน Multiprocessing รวมถึงส่วนเพิ่มที่เรียกว่า “Next generation” ได้แก่ ระบบไฟล์ การพิมพ์ และระบบความปลอดภัยพิเศษ

9.2.1 Netware  1.x

Netware  รุ่นแรกออกมาในปี  1983  เพื่อใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์พื้นที่ดิสก์ก็ได้  โดยความสามารถเครื่องที่รันระบบปฏิบัติการ  Netware  ในเวลานั้น  สามารถที่จะให้บริการแชร์พื้นที่กับเครื่องสมาชิกที่รันระบบปฏิบัติการประเภท  DOS  ได้

โดยเครื่องสมาชิกที่รันระบบปฏิบัติการประเภท  DOS  เช่น  MS-DOS  จะใช้โปรแกรมประเภท  Terminate  and  Stay  Resident  (TSR)  เพื่อเข้าไปขอใช้ในพื้นที่เซิร์ฟเวอร์  Netware  เปิดแชร์ไว้ให้โดยที่เราเรียกพื้นที่ดังกล่าว  Netware  Volume
9.2.2 Netware  2.x

Netware 2.0  ออกมาในปี  1985  เป็นยุครุ่งเรืองของ  Netware  โดยจะทำงานกับซีพียู  286  และใช้ในรูปคำสั่ง  16  บิต ในการทำงาน
9.2.3  Netware  3.x,4.x

3.x Novell ได้แนะนำให้มันเป็นสิ่งแรกที่เหมาะที่จะใช้กับระบบ clustering โดยให้มีชื่อว่า Netware SFT-III ซึ่งอนุญาตให้ลอจิคอล server เพื่อให้ความสำเร็จของการแยกกลไกระดับฟิสิคอล วิธีการทำ shared-nothing ให้เป็นกลุ่ม ภายใต้ของ SFT-III ของ OS เป็นเหตุผลในการแบ่งการขัดจังหวะของ อินพุต/เอาต์พุต ของเครื่องและ event-driven OS core โดย อินพุต/เอาต์พุต ของเครื่องทำให้เป็นแบบอนุกรมในการขัดจังหวะ (ดิสก์ เครือข่าย เป็นต้น) ในการรวมกันของเหตูการณ์เป็นกระแสให้ความเหมือนที่น่าเบื่อในการทำสำเนาอยู่สองอย่างเป็นของระบบเครื่องที่เร็วเกินไป (100 Mbit/s) และการเชื่อมโยง inter-server เพราะว่ามันไม่เกี่ยวกับลักษณะของ OS อินพุต/เอาต์พุต ของแบบ non- dedicated เป็นการกระทำแบบเสี่ยงดวงซึ่งเหมือนกับ finite state machine ที่มีขนาดใหญ่

                เวอร์ชัน 4 ในปี 1993 ได้ถูกแนะนำในชื่อ Novell Directory Services (NDS) อยู่บนฐานของ X.500 ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ Bindery กับ Directory service ทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นโครงสร้างเพื่อระบุและจัดการในทีเดียว การเพิ่ม NDS ให้ขยายตัวออกไปได้อนุญาตให้แนะนำชนิดของวัตถุใหม่และอนุญาตให้ผู้ใช้ที่น่าเชื่อถือแค่คนเดียวเพื่อดูแลการเข้าถึง server ที่พวกเขาอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งานก็ยังคงจำกัดเพราะว่าเป็น server ส่วนบุคคล (โครงการใหญ่ๆสามารถเลือกอนุญาตให้เป็นรูปแบบพื้นฐานของพวกเขาและไม่จำกัดผู้ใช้ต่อ server ถ้าพวกเขาอนุญาตให้ Novell ทำบัญชีจำนวนผู้เข้าใช้ทั้งหมด )

เวอร์ชัน 4 ได้ถูกแนะนำว่าเป็นหมายเลขเครื่องมือในการใช้ประโยชน์และลักษณะเฉพาะเช่นการบีบอัดที่เข้าใจง่ายที่ระดุบระบบไฟล์และ RSA เป็นทั้ง public/private นอกจากนี้มีลักษณะเฉพาะแบบใหม่เป็น NetWare Asynchronous Services Interface (NASI) มันอนุญาตให้เครือข่ายแชร์อุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น โมเด็ม เป็นต้น และเครื่องลูกเปลี่ยนพอร์ตใหม่ให้เกิดขึ้นโดยทาง MS-DOS หรือ Microsoft Windows ที่อนุญาตให้บริษัททำให้โมเด็มมีความแข็งแรงและใช้สายโทรศัพท์แบบอนาล็อก

 9.2.4  ความผิดพลาดของโนแวล

                ในช่วงแรกของโนแวล  ในยุคของ NetWare  2.x  และ  3.x  ถือว่าโนแวลทำงานได้ดีมาก ๆ   เกือบ  90 %  ของตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นของโนแวล

แต่ในเวอร์ชัน  4.x  โนแวลเดินหมากผิด  โดยโนแวลต้องการเปิดตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด  จึงได้รวม  NDS  เข้าไปในระบบปฏิบัติการ NetWare  เพื่อหวังจะใช้ความสามารถ  NDS  ในการปราบคู่แข่งรายอื่น ๆ  ให้หมด  แต่การกระทำดังกล่าวไม่เป็นผลดีเลย

9.2.5  การปรับหมากของโนแวล

ในปี  1996  หลังจากนั้นอีก  3  ปี  โนแวลได้พยายามแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว  โดยออก  NetWare 4.10  ที่มีราคาเท่ากับ  NetWare  3.12  พร้อมทั้งมี  NDS  ใน NetWare  4.10  ให้ใช้ฟรีด้วย

 9.2.6  NetWare  5.x

กับการปล่อย NetWare 5 ในเดือนตุลาคมปี 1998 สุดท้าย Novell ก็ได้ยอมรับการโผล่ออกมาของอินเทอร์เน็ตโดยการสวิทชิ่งมันเป็นอินเตอร์เฟส NCP แบบปฐมภูมิจาก IPX/SPX เครือ ข่ายโพรโทคอล TCP/IP แต่ยังคงสนับสนุน IPX/SPX อยู่แล้วเปลี่ยนมาเป็นความสำคัญถึง TCP/IP เช่นเดียวกันแล้ว Novell ได้เป็น GUI ให้กับ NetWare โดยมีลักษณะเฉพาะใหม่แบบอื่นๆด้วย

·         Novell Storage Services (NSS) เป็นระบบไฟล์ใหม่ที่เข้ามาแทนที่ NetWare File System ซึ่งยังคงสนับสนุนอยู่

·         มี Java virtual machine สำหรับ NetWare

·         มี Novell Distributed Print Services

·         การบริหารเป็นแบบใหม่โดยใช้ Java – based GUI

·         Directory-enabled ใช้งานแบบ Public key infrastructure services (PKIS)

·         Directory-enabled เป็นทั้ง DNS และ DHCP server

·         สนับสนุนสำหรับ Storage Area Networks (SANs)

·         มี Novell Cluster Services

·         มี Oracle 8i กับการอนุญาตให้มีผู้ใช้ได้ 5 user

กลุ่มบริการส่วนใหญ่เป็นมากกว่า SFT-III ตามที่ NCS ไม่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์หรือการตั้งค่า server ที่เหมือนกัน NetWare 5 ได้ถูกปล่อยออกมาระหว่างที่การตลาดของ NetWare หยุดนิ่ง หลายบริษัทและองค์กรต่างๆมีการแทนที่ NetWare server ที่กำลังทำงานกับระบบปฏิบัติการ Microsoft’s Windows NT เช่นนั้นแล้ว Novell ได้ปล่อย NetWare ที่มีการอัพเกรดล่าสุดถึงระบบปฏิบัติการ NetWare 4 , NetWare 4.2

NetWare 5.1 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนมกราคมปี 2000 เป็นเวลาสั้นๆจากผลิตภัณฑ์ตัวก่อนมันได้เข้าสู่ประโยชน์ของเครื่องมือ เช่น

·         มี IBM WebSphere Application Server

·         มี NetWare Management Portal (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ Novell Remote Manager) เป็นการจัดการ web server ของระบบปฏิบัติการ

·         มี FTP,NNTP และ streaming media server

·         มี NetWare Web Search Server

·         มีการสนับสนุน WebDAV

9.2.7  NetWare  6.x

NetWare 6.5 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนสิงหาคมปี 2003 บางอย่างของลักษณะเฉพาะในเวอร์ชันนี้คือ

·         เป็นมากกว่าผลิตภัณฑ์ open -source เช่น PHP, MySQL และ OpenSSH

·         พอร์ตของ Bash shell และได้สืบทอดมาจากประโยชน์ของ Unix เช่น wget, grep, awk และ sed เพื่อเพิ่มความสามารถสำหรับการเขียนต้นร่าง

·         สนับสนุน iSCSI (ทั้งคู่มีจุดมุ่งหมายและการริเริ่มเดียวกัน)

·         แก่นแท้ขององค์กรคือ “out of the box” ทางเข้าเว็บสำหรับการเตรียมการเข้าถึงอีเมลของผู้ใช้ ที่เก็บไฟล์ส่วนบุคคล สมุดที่อยู่ของบริษัท

·         มีหน้าที่เกี่ยวกับ Domain controller

·         มี Password เป็นสากล

·         มี DirXML Starter Pack เข้ารหัสของผู้ใช้งานกับอย่างอื่นคือ eDirectory tree,Windows NT Domain หรือ Active Directory

·         มี extend Application Server – a J2EE 1.3 ซึ่งเข้ากันได้กับ Application server

·         สนับสนุนสำหรับ customized printer driver profile และ วิธีการใช้ปริ๊นเตอร์

·         สนับสนุน NX bit

·         สนับสนุนสำหรับอุปกรณ์ต่อพวงแบบ USB

·         สนับสนุนสำหรับระดับการเข้ารหัส

9.3  UNIX

ยูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy

9.3.1  การเปลี่ยนแปลงของ  UNIX  

 ในทศวรรษที่ 60 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) , AT&T Bell Labs และบริษัท General Electric ได้ร่วมมือกันวิจัยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Multics (ย่อมาจาก Multiplexed Information and Computing Service) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานบนเครื่องเมนเฟรมรุ่น GE-645 แต่ภายหลัง AT&T ได้ถอนตัวออกจากโครงการนี้

Ken Thompson ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาในขณะนั้น ได้เขียนเกมบนเครื่อง GE-645 ชื่อว่าเกม Space Travel และพบปัญหาว่าเกมทำงานได้ช้ากว่าที่ควร เขาจึงย้ายมาเขียนเกมใหม่บนเครื่อง PDP-7 ของบริษัทDEC แทนด้วยภาษาแอสเซมบลี โดยความช่วยเหลือของ Dennis Ritchie ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ Thompson หันมาพัฒนาระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PDP-7

ระบบปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า UNICS ย่อมาจาก Uniplexed Information and Computing System เนื่องจากว่าการออกเสียงสามารถสะกดได้หลายแบบ และพบปัญหาชื่อใกล้เคียงกับ Multics ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Unix

การพัฒนายูนิกซ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจาก Bell Labs เมื่อระบบพัฒนามากขึ้น Thompson และ Ritchie จึงสัญญาว่าจะเพิ่มความสามารถในการประมวลผลคำ (Word Processing) บนเครื่อง PDP-11/20 และเริ่มได้รับการตอบรับจาก Bell Labs ในปีค.ศ. 1970 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการ โปรแกรมประมวลผลคำมีชื่อว่า roff และหนังสือ UNIX Programmer's Manual ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971

ค.ศ. 1973 ได้เขียนยูนิกซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาซีใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน ดังนั้น ยูนิกส์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้เป็นทั้งแบบ Command-line และ GUI ทำให้สะดวกต่อการนำยูนิกซ์ไปทำงานบนเครื่องชนิดอื่นมากขึ้น ทาง AT&T ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล โดยสัญญาการใช้งานเปิดเผยซอร์สโค้ด ยกเว้นเคอร์เนลส่วนที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี

ยูนิกซ์เวอร์ชัน 4,5 และ 6 ออกในค.ศ. 1975 ได้เพิ่มคุณสมบัติ pipe เข้ามา ยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่พัฒนาแบบการวิจัย ออกในค.ศ. 1979 ยูนิกซ์เวอร์ชัน 8,9 และ 10 ออกมาในภายหลังในทศวรรษที่ 80 ในวงจำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น และเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ Plan 9

ค.ศ. 1982 AT&T นำยูนิกซ์ 7 มาพัฒนาและออกขายในชื่อ Unix System III แต่บริษัทลูกของ AT&T ชื่อว่า Western Electric ยังคงนำยูนิกซ์รุ่นเก่ามาขายอยู่เช่นกัน เพื่อยุติความสับสนทางด้านชื่อ AT&T จึงรวมการพัฒนาทั้งหมดจากบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆใน Unix System V ซึ่งมีโปรแกรมอย่าง vi ที่พัฒนาโดย Berkeley Software Distribution (BSD) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รวมอยู่ด้วย ยูนิกซ์รุ่นนี้สามารถทำงานได้บนเครื่อง VAX ของบริษัท DEC

ยูนิกซ์รุ่นที่เป็นการค้าไม่เปิดเผยซอร์สโค้ดอีกต่อไป ทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ จึงพัฒนายูนิกซ์ของตัวเองต่อเพื่อเป็นทางเลือกกับ System V การพัฒนาที่สำคัญที่สุดคือเพิ่มการสนับสนุนโพรโทคอลสำหรับเครือข่าย TCP/IP เข้ามา

บริษัทอื่นๆ เริ่มพัฒนายูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของตนเอง โดยส่วนมากใช้ยูนิกซ์ที่ซื้อสัญญามาจาก System V แต่บางบริษัทเลือกพัฒนาจาก BSD แทน หนึ่งในทีมพัฒนาของ BSD คือ Bill Joy มีส่วนในการสร้าง SunOS (ปัจจุบันคือ โซลาริส) ของบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์

ค.ศ. 1981 ทีมพัฒนา BSD ได้ออกจากมหาวิทยาลัยและก่อตั้งบริษัท Berkeley Software Design, Inc (BSDI) เป็นบริษัทแรกที่นำ BSD มาขายในเชิงการค้า ในภายหลังเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการFreeBSDOpenBSD และ NetBSD

AT&T ยังคงพัฒนาความสามารถต่างๆ เข้าสู่ยูนิกซ์ System V และรวมเอา Xenix (ยูนิกซ์ของบริษัทไมโครซอฟท์) , BSD และ SunOS เข้ามารวมใน System V Release 4 (SVR4) เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวสำหรับลูกค้า ซึ่งเพิ่มราคาขึ้นอีกมาก

หลังจากนั้นไม่นาน AT&T ขายสิทธิ์ในการถือครองยูนิกซ์ให้กับบริษัทโนเวลล์ และโนเวลเองได้สร้างยูนิกซ์ของตัวเองที่ชื่อ UnixWare ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ NetWare เพื่อแข่งกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีของไมโครซอฟท์

ค.ศ. 1995 โนเวลขายส่วนต่างๆ ของยูนิกซ์ให้กับบริษัท Santa Cruz Operation (SCO) โดยโนเวลยังถือลิขสิทธิ์ของยูนิกซ์ไว้ ค.ศ. 2000 SCO ขายสิทธิ์ส่วนของตนเองให้กับบริษัท Caldera ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น SCO Group ซึ่งเป็นสาเหตุในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับลินุกซ์