วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 9 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

9.1  Microsoft  Windows

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก 

การเปลี่ยนแปลงของ  Microsoft  Windows  ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากวินโดวส์ในยุคเริ่มต้นหลาย ๆ ด้าน 

9.1.1  ยุคคอมพิวเตอร์  16 – bit
         วินโดวส์ 1.0 เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ ดอส) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วินโดวส์ในช่วงนี้ จึงยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ แมคอินทอช ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจากบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก

วินโดวส์ 1.0 อยู่ในระยะการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

            วินโดวส์ 2.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงของวินโดวส์ 2.0 วินโดวส์กับแมคอินทอชมีความใกล้เคียงกันมาก จนเกิดคดีฟ้องร้องกันของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ 2 แห่ง คือ ไมโครซอฟท์ และ แอปเปิล

วินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

9.1.2  ยุคผสมคอมพิวเตอร์  16 /32– bit
         วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบกราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์ใหม่, มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ โน้ตแพด, เกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล

วินโดวส์ 3.0 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

           วินโดวส์ 3.1 เปิดตัวเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2535 ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภททรูไทป์ และได้มีการลงเกม ไมน์สวีปเปอร์ มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

ในรุ่น 3.1 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และโพรโทคอล, เกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2 สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ
        วินโดวส์ 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    9.1.3  ยุคผสมคอมพิวเตอร์  32– bit  สาย  Home  User

วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 4.0 (ไม่เอ็นที) เปิดตัว 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์ 95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์

วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อของวินโดวส์ 95 จุดเด่นของวินโดวส์ 98 คือการใช้มาตรฐานไดรเวอร์แบบ WDM และ VxD ซึ่ง WDM เป็นมาตรฐานใหม่ที่วินโดวส์รุ่นต่อๆ มา ได้ใช้เป็นหลัก ส่วน VxD เป็นมาตรฐานเก่า ซึ่งวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 ไม่รองรับ ซึ่งทำให้วินโดวส์ 98 เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมสมัยเก่าและใหม่ โปรแกรมสมัยปัจจุบัน แม้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวินโดวส์ 98 แต่หลายโปรแกรมก็สามารถใช้กับวินโดวส์ 98 ได้พอสมควร วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542

วินโดวส์ 2000 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.0 เปิดตัวเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นระบบปฏิบัติการเอ็นที มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ขั้นสูงและกลุ่มธุรกิจ ในช่วงนี้ได้แบ่งเป็น 5 รุ่นย่อย คือ Professional, Server, Advanced Server, Datacenter Server, Advanced Server 64-bit Limited Edition

วินโดวส์ มี ( Windows Me) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2543 วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์

 9.1.4  ยุคคอมพิวเตอร์  32– bit  สาย  IT  Professional
          นอกจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ธรรมดาแล้ว  ไมโครซอฟท์ยังได้ออกระบบปฏิบัติการอีกชุดหนึ่งที่เป็นตัวคู่ขนานกัน  คือ  ระบบปฏิบัติการ  Windows  NT  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถทางด้านเครือข่ายสูงกว่าวินโดวน์ปกติ

                Windows  NT  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการดูแลระบบเครือข่าย  มีความสามารถในด้านการบริการ  (sever)  มีความเสถียร  และระบบรักษาความปลอดภัยสูง  เหมาะสำหรับผู้ดูและระบบใช้จัดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์

วินโดวส์เอ็นที 3.1 เปิดตัวเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของวินโดวส์ สามารถทำงานต่างๆได้ด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์นี้ ไม่จำเป็นต้องลงระบบดอสอีกต่อไป เอ็นทีออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพโดยเฉพาะ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ซึ่งวินโดวส์ตัวก่อนหน้าทั้งหมด เป็นสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต โปรแกรม 32 บิต (ซึ่งในขณะนั้นมักเป็นโปรแกรมขั้นสูง) สามารถใช้งานกับวินโดวส์เอ็นทีได้ แต่ไม่สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 ได้ แต่โปรแกรม 16 บิต สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 และเอ็นที ได้ เพราะเอ็นทีจะมีระบบแปลงไฟล์ ให้สามารถใช้งานในเอ็นทีได้

เอ็นที ย่อมาจาก (New Technology) มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ในช่วงนี้ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ใช้ตามบ้าน แต่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นมักยังใช้ วินโดวส์ 3.1 ธรรมดา

 9.1.5  ยุครวมคอมพิวเตอร์  32– bit 
               วินโดวส์ เอกซ์พี หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.1 และ เอ็นที 5.2 เปิดตัว 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจาก วินโดวส์ เนปจูน ถูกยุบรวมกับวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า Experience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นวินโดวส์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้จะเปิดตัวมาแล้วถึง 9 ปี แต่จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์ เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack

 9.1.6  ยุคต่อไปคอมพิวเตอร์  64– bit 
           เอกซ์พีรุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2547, เอกซ์พีรุ่นปรับปรุง SP1 และ 1a ยุติการสนับสนุน 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549, รุ่นปรับปรุง SP2 32 บิต ยุติการสนับสนุน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 64 บิต และ SP3 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ส่วนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 จะได้รับการสนับสนุนต่อจนถึง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และวินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี ยังไม่มีแผนจะยุติการสนับสนุนอีกด้วยและ การสนับสนุน Windows XP ที่มี Service Pack 2 (SP2) ได้หยุดลงในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553

              วินโดวส์ วิสตา หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.0 ได้รับลิขสิทธิ์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในช่วงของวิสตา วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ วิสตามีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น ในการตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน, การแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม, ความสามารถในการค้นหา, การพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว ดังตัวอย่างเปรียบเทียบในตาราง

ประเภทความต้องการ
ความต้องการขั้นต่ำของเอกซ์พี (SP3)
ความต้องการขั้นต่ำของวิสตา
หน่วยประมวลผลกลาง (โปรเซสเซอร์)
233 MHz
800 MHz
64 MB
512 MB
เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์
4.2 GB
15 GB
ไดรฟ์ที่ต้องการ
CD-ROM
DVD-ROM


เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

วิสตา รุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนวิสตารุ่นปรับปรุง SP1 ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 ยังไม่มีแผนการจะยกเลิกการสนับสนุน (ตรวจสอบโดย กด Start แล้วพิมพ์ที่ช่องว่างด้านล่างซ้ายว่า winver แล้ว Enter)

9.2  Novell  NetWare

Netware เป็นระบบปฏิบัติการของ Network server ที่มีการติดตั้งอย่างกว้างขวาง ระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นของ Novell ในช่วงเริ่มต้น Netware ได้รับความสำเร็จในการติดตั้ง เพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายในสำนักงานทั้งขนาดเล็กและใหญ่ Novell ได้ทำการปรับปรุงการออกแบบ Netware เพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ และหลากหลาย รวมถึงอินเตอร์เน็ต Netware มีคู่แข่งหลักคือระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชันล่าสุดของ Netware คือ Netware 5 ซึ่งสนับสนุนโปรโตคอลของระบบเครือข่ายแบบ Internetwork Pocket Exchange ของตัวเองและโปรโตคอลของ Web server คือ Internet Protocol
               Netware ได้รวบรวมระบบ Novell Directory Service (DNS) ของตัวเองเข้ากับมาตรฐาน อุตสาหกรรม Domain Name System และ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) นอกเหนือ Netware สนับสนุนโปรแกรมประยุกต์ Java, สถาปัตยกรรมแบบ Common Object Request Broker Architecture และ Object Request Broker โดย Kernel สนับสนุน Multiprocessing รวมถึงส่วนเพิ่มที่เรียกว่า “Next generation” ได้แก่ ระบบไฟล์ การพิมพ์ และระบบความปลอดภัยพิเศษ

9.2.1 Netware  1.x

Netware  รุ่นแรกออกมาในปี  1983  เพื่อใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์พื้นที่ดิสก์ก็ได้  โดยความสามารถเครื่องที่รันระบบปฏิบัติการ  Netware  ในเวลานั้น  สามารถที่จะให้บริการแชร์พื้นที่กับเครื่องสมาชิกที่รันระบบปฏิบัติการประเภท  DOS  ได้

โดยเครื่องสมาชิกที่รันระบบปฏิบัติการประเภท  DOS  เช่น  MS-DOS  จะใช้โปรแกรมประเภท  Terminate  and  Stay  Resident  (TSR)  เพื่อเข้าไปขอใช้ในพื้นที่เซิร์ฟเวอร์  Netware  เปิดแชร์ไว้ให้โดยที่เราเรียกพื้นที่ดังกล่าว  Netware  Volume
9.2.2 Netware  2.x

Netware 2.0  ออกมาในปี  1985  เป็นยุครุ่งเรืองของ  Netware  โดยจะทำงานกับซีพียู  286  และใช้ในรูปคำสั่ง  16  บิต ในการทำงาน
9.2.3  Netware  3.x,4.x

3.x Novell ได้แนะนำให้มันเป็นสิ่งแรกที่เหมาะที่จะใช้กับระบบ clustering โดยให้มีชื่อว่า Netware SFT-III ซึ่งอนุญาตให้ลอจิคอล server เพื่อให้ความสำเร็จของการแยกกลไกระดับฟิสิคอล วิธีการทำ shared-nothing ให้เป็นกลุ่ม ภายใต้ของ SFT-III ของ OS เป็นเหตุผลในการแบ่งการขัดจังหวะของ อินพุต/เอาต์พุต ของเครื่องและ event-driven OS core โดย อินพุต/เอาต์พุต ของเครื่องทำให้เป็นแบบอนุกรมในการขัดจังหวะ (ดิสก์ เครือข่าย เป็นต้น) ในการรวมกันของเหตูการณ์เป็นกระแสให้ความเหมือนที่น่าเบื่อในการทำสำเนาอยู่สองอย่างเป็นของระบบเครื่องที่เร็วเกินไป (100 Mbit/s) และการเชื่อมโยง inter-server เพราะว่ามันไม่เกี่ยวกับลักษณะของ OS อินพุต/เอาต์พุต ของแบบ non- dedicated เป็นการกระทำแบบเสี่ยงดวงซึ่งเหมือนกับ finite state machine ที่มีขนาดใหญ่

                เวอร์ชัน 4 ในปี 1993 ได้ถูกแนะนำในชื่อ Novell Directory Services (NDS) อยู่บนฐานของ X.500 ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ Bindery กับ Directory service ทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นโครงสร้างเพื่อระบุและจัดการในทีเดียว การเพิ่ม NDS ให้ขยายตัวออกไปได้อนุญาตให้แนะนำชนิดของวัตถุใหม่และอนุญาตให้ผู้ใช้ที่น่าเชื่อถือแค่คนเดียวเพื่อดูแลการเข้าถึง server ที่พวกเขาอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งานก็ยังคงจำกัดเพราะว่าเป็น server ส่วนบุคคล (โครงการใหญ่ๆสามารถเลือกอนุญาตให้เป็นรูปแบบพื้นฐานของพวกเขาและไม่จำกัดผู้ใช้ต่อ server ถ้าพวกเขาอนุญาตให้ Novell ทำบัญชีจำนวนผู้เข้าใช้ทั้งหมด )

เวอร์ชัน 4 ได้ถูกแนะนำว่าเป็นหมายเลขเครื่องมือในการใช้ประโยชน์และลักษณะเฉพาะเช่นการบีบอัดที่เข้าใจง่ายที่ระดุบระบบไฟล์และ RSA เป็นทั้ง public/private นอกจากนี้มีลักษณะเฉพาะแบบใหม่เป็น NetWare Asynchronous Services Interface (NASI) มันอนุญาตให้เครือข่ายแชร์อุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น โมเด็ม เป็นต้น และเครื่องลูกเปลี่ยนพอร์ตใหม่ให้เกิดขึ้นโดยทาง MS-DOS หรือ Microsoft Windows ที่อนุญาตให้บริษัททำให้โมเด็มมีความแข็งแรงและใช้สายโทรศัพท์แบบอนาล็อก

 9.2.4  ความผิดพลาดของโนแวล

                ในช่วงแรกของโนแวล  ในยุคของ NetWare  2.x  และ  3.x  ถือว่าโนแวลทำงานได้ดีมาก ๆ   เกือบ  90 %  ของตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นของโนแวล

แต่ในเวอร์ชัน  4.x  โนแวลเดินหมากผิด  โดยโนแวลต้องการเปิดตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด  จึงได้รวม  NDS  เข้าไปในระบบปฏิบัติการ NetWare  เพื่อหวังจะใช้ความสามารถ  NDS  ในการปราบคู่แข่งรายอื่น ๆ  ให้หมด  แต่การกระทำดังกล่าวไม่เป็นผลดีเลย

9.2.5  การปรับหมากของโนแวล

ในปี  1996  หลังจากนั้นอีก  3  ปี  โนแวลได้พยายามแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว  โดยออก  NetWare 4.10  ที่มีราคาเท่ากับ  NetWare  3.12  พร้อมทั้งมี  NDS  ใน NetWare  4.10  ให้ใช้ฟรีด้วย

 9.2.6  NetWare  5.x

กับการปล่อย NetWare 5 ในเดือนตุลาคมปี 1998 สุดท้าย Novell ก็ได้ยอมรับการโผล่ออกมาของอินเทอร์เน็ตโดยการสวิทชิ่งมันเป็นอินเตอร์เฟส NCP แบบปฐมภูมิจาก IPX/SPX เครือ ข่ายโพรโทคอล TCP/IP แต่ยังคงสนับสนุน IPX/SPX อยู่แล้วเปลี่ยนมาเป็นความสำคัญถึง TCP/IP เช่นเดียวกันแล้ว Novell ได้เป็น GUI ให้กับ NetWare โดยมีลักษณะเฉพาะใหม่แบบอื่นๆด้วย

·         Novell Storage Services (NSS) เป็นระบบไฟล์ใหม่ที่เข้ามาแทนที่ NetWare File System ซึ่งยังคงสนับสนุนอยู่

·         มี Java virtual machine สำหรับ NetWare

·         มี Novell Distributed Print Services

·         การบริหารเป็นแบบใหม่โดยใช้ Java – based GUI

·         Directory-enabled ใช้งานแบบ Public key infrastructure services (PKIS)

·         Directory-enabled เป็นทั้ง DNS และ DHCP server

·         สนับสนุนสำหรับ Storage Area Networks (SANs)

·         มี Novell Cluster Services

·         มี Oracle 8i กับการอนุญาตให้มีผู้ใช้ได้ 5 user

กลุ่มบริการส่วนใหญ่เป็นมากกว่า SFT-III ตามที่ NCS ไม่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์หรือการตั้งค่า server ที่เหมือนกัน NetWare 5 ได้ถูกปล่อยออกมาระหว่างที่การตลาดของ NetWare หยุดนิ่ง หลายบริษัทและองค์กรต่างๆมีการแทนที่ NetWare server ที่กำลังทำงานกับระบบปฏิบัติการ Microsoft’s Windows NT เช่นนั้นแล้ว Novell ได้ปล่อย NetWare ที่มีการอัพเกรดล่าสุดถึงระบบปฏิบัติการ NetWare 4 , NetWare 4.2

NetWare 5.1 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนมกราคมปี 2000 เป็นเวลาสั้นๆจากผลิตภัณฑ์ตัวก่อนมันได้เข้าสู่ประโยชน์ของเครื่องมือ เช่น

·         มี IBM WebSphere Application Server

·         มี NetWare Management Portal (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ Novell Remote Manager) เป็นการจัดการ web server ของระบบปฏิบัติการ

·         มี FTP,NNTP และ streaming media server

·         มี NetWare Web Search Server

·         มีการสนับสนุน WebDAV

9.2.7  NetWare  6.x

NetWare 6.5 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนสิงหาคมปี 2003 บางอย่างของลักษณะเฉพาะในเวอร์ชันนี้คือ

·         เป็นมากกว่าผลิตภัณฑ์ open -source เช่น PHP, MySQL และ OpenSSH

·         พอร์ตของ Bash shell และได้สืบทอดมาจากประโยชน์ของ Unix เช่น wget, grep, awk และ sed เพื่อเพิ่มความสามารถสำหรับการเขียนต้นร่าง

·         สนับสนุน iSCSI (ทั้งคู่มีจุดมุ่งหมายและการริเริ่มเดียวกัน)

·         แก่นแท้ขององค์กรคือ “out of the box” ทางเข้าเว็บสำหรับการเตรียมการเข้าถึงอีเมลของผู้ใช้ ที่เก็บไฟล์ส่วนบุคคล สมุดที่อยู่ของบริษัท

·         มีหน้าที่เกี่ยวกับ Domain controller

·         มี Password เป็นสากล

·         มี DirXML Starter Pack เข้ารหัสของผู้ใช้งานกับอย่างอื่นคือ eDirectory tree,Windows NT Domain หรือ Active Directory

·         มี extend Application Server – a J2EE 1.3 ซึ่งเข้ากันได้กับ Application server

·         สนับสนุนสำหรับ customized printer driver profile และ วิธีการใช้ปริ๊นเตอร์

·         สนับสนุน NX bit

·         สนับสนุนสำหรับอุปกรณ์ต่อพวงแบบ USB

·         สนับสนุนสำหรับระดับการเข้ารหัส

9.3  UNIX

ยูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy

9.3.1  การเปลี่ยนแปลงของ  UNIX  

 ในทศวรรษที่ 60 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) , AT&T Bell Labs และบริษัท General Electric ได้ร่วมมือกันวิจัยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Multics (ย่อมาจาก Multiplexed Information and Computing Service) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานบนเครื่องเมนเฟรมรุ่น GE-645 แต่ภายหลัง AT&T ได้ถอนตัวออกจากโครงการนี้

Ken Thompson ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาในขณะนั้น ได้เขียนเกมบนเครื่อง GE-645 ชื่อว่าเกม Space Travel และพบปัญหาว่าเกมทำงานได้ช้ากว่าที่ควร เขาจึงย้ายมาเขียนเกมใหม่บนเครื่อง PDP-7 ของบริษัทDEC แทนด้วยภาษาแอสเซมบลี โดยความช่วยเหลือของ Dennis Ritchie ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ Thompson หันมาพัฒนาระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PDP-7

ระบบปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า UNICS ย่อมาจาก Uniplexed Information and Computing System เนื่องจากว่าการออกเสียงสามารถสะกดได้หลายแบบ และพบปัญหาชื่อใกล้เคียงกับ Multics ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Unix

การพัฒนายูนิกซ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจาก Bell Labs เมื่อระบบพัฒนามากขึ้น Thompson และ Ritchie จึงสัญญาว่าจะเพิ่มความสามารถในการประมวลผลคำ (Word Processing) บนเครื่อง PDP-11/20 และเริ่มได้รับการตอบรับจาก Bell Labs ในปีค.ศ. 1970 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการ โปรแกรมประมวลผลคำมีชื่อว่า roff และหนังสือ UNIX Programmer's Manual ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971

ค.ศ. 1973 ได้เขียนยูนิกซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาซีใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน ดังนั้น ยูนิกส์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้เป็นทั้งแบบ Command-line และ GUI ทำให้สะดวกต่อการนำยูนิกซ์ไปทำงานบนเครื่องชนิดอื่นมากขึ้น ทาง AT&T ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล โดยสัญญาการใช้งานเปิดเผยซอร์สโค้ด ยกเว้นเคอร์เนลส่วนที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี

ยูนิกซ์เวอร์ชัน 4,5 และ 6 ออกในค.ศ. 1975 ได้เพิ่มคุณสมบัติ pipe เข้ามา ยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่พัฒนาแบบการวิจัย ออกในค.ศ. 1979 ยูนิกซ์เวอร์ชัน 8,9 และ 10 ออกมาในภายหลังในทศวรรษที่ 80 ในวงจำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น และเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ Plan 9

ค.ศ. 1982 AT&T นำยูนิกซ์ 7 มาพัฒนาและออกขายในชื่อ Unix System III แต่บริษัทลูกของ AT&T ชื่อว่า Western Electric ยังคงนำยูนิกซ์รุ่นเก่ามาขายอยู่เช่นกัน เพื่อยุติความสับสนทางด้านชื่อ AT&T จึงรวมการพัฒนาทั้งหมดจากบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆใน Unix System V ซึ่งมีโปรแกรมอย่าง vi ที่พัฒนาโดย Berkeley Software Distribution (BSD) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รวมอยู่ด้วย ยูนิกซ์รุ่นนี้สามารถทำงานได้บนเครื่อง VAX ของบริษัท DEC

ยูนิกซ์รุ่นที่เป็นการค้าไม่เปิดเผยซอร์สโค้ดอีกต่อไป ทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ จึงพัฒนายูนิกซ์ของตัวเองต่อเพื่อเป็นทางเลือกกับ System V การพัฒนาที่สำคัญที่สุดคือเพิ่มการสนับสนุนโพรโทคอลสำหรับเครือข่าย TCP/IP เข้ามา

บริษัทอื่นๆ เริ่มพัฒนายูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของตนเอง โดยส่วนมากใช้ยูนิกซ์ที่ซื้อสัญญามาจาก System V แต่บางบริษัทเลือกพัฒนาจาก BSD แทน หนึ่งในทีมพัฒนาของ BSD คือ Bill Joy มีส่วนในการสร้าง SunOS (ปัจจุบันคือ โซลาริส) ของบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์

ค.ศ. 1981 ทีมพัฒนา BSD ได้ออกจากมหาวิทยาลัยและก่อตั้งบริษัท Berkeley Software Design, Inc (BSDI) เป็นบริษัทแรกที่นำ BSD มาขายในเชิงการค้า ในภายหลังเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการFreeBSDOpenBSD และ NetBSD

AT&T ยังคงพัฒนาความสามารถต่างๆ เข้าสู่ยูนิกซ์ System V และรวมเอา Xenix (ยูนิกซ์ของบริษัทไมโครซอฟท์) , BSD และ SunOS เข้ามารวมใน System V Release 4 (SVR4) เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวสำหรับลูกค้า ซึ่งเพิ่มราคาขึ้นอีกมาก

หลังจากนั้นไม่นาน AT&T ขายสิทธิ์ในการถือครองยูนิกซ์ให้กับบริษัทโนเวลล์ และโนเวลเองได้สร้างยูนิกซ์ของตัวเองที่ชื่อ UnixWare ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ NetWare เพื่อแข่งกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีของไมโครซอฟท์

ค.ศ. 1995 โนเวลขายส่วนต่างๆ ของยูนิกซ์ให้กับบริษัท Santa Cruz Operation (SCO) โดยโนเวลยังถือลิขสิทธิ์ของยูนิกซ์ไว้ ค.ศ. 2000 SCO ขายสิทธิ์ส่วนของตนเองให้กับบริษัท Caldera ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น SCO Group ซึ่งเป็นสาเหตุในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับลินุกซ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น